อยากได้เงินเดือนเท่าไหร่ ตอบยังไงให้ได้งาน?

เมื่อการสัมภาษณ์งานดำเนินมาถึงคำถามเรื่องตัวเลขของเงินเดือนที่คาดหวัง บ่อยครั้งผู้สมัครเกิดความกลัวขึ้นมา เนื่องจากพวกเขาเกรงว่าอาจจะเสนอตัวเลขต่ำเกินไป หรือถ้าเรียกสูงๆ เข้าไว้ก็อาจถูกมองไม่ดี เกินงบจนถูกปัดตกในท้ายที่สุด แต่ในความเป็นจริงนั้น นายจ้างมักถามเรื่องเงินเดือนที่อยากได้ก็เพื่อทำความเข้าใจ ว่า ค่าตอบแทนที่เราเรียกสอดคล้องกับงบประมาณของบริษัทหรือไม่ และยังช่วยในการวัด ว่า ผู้สมัครมีการประเมินตนเองอย่างไรในแง่ของทักษะและผลงานในอดีตอีกด้วย

เช็คลิสต์ คุณกำลังให้คำตอบที่ถูกต้องอยู่รึเปล่า

✅ คุณไม่ได้ให้คำตอบเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนแบบเป๊ะๆ
✅ คุณศึกษาตลาดว่าเรทเงินเดือนในตำแหน่งที่ทำอยู่นั้น อยู่ในช่วงไหน
✅ ความคาดหวังของคุณตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและสอดคล้องกับกลไกตลาด
✅ คุณมีตัวเลขต่ำสุดเอาไว้ในใจแล้วเมื่อถูกต่อรอง

โดยปกติแล้ว การจะคุยเรื่องของตัวเลขเงินเดือนได้นั้น ควรเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการพูดคุยมาสักระยะหนึ่งแล้ว จนแน่ใจว่าผู้สัมภาษณ์ประทับใจในคุณสมบัติของคุณจนอยากจะไปต่อ เวลาที่ใช่จะทำให้การเจรจาต่อรองเงินเดือนเป็นไปอย่างที่ใจคุณต้องการ และนี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้ตอบคำถามเรื่องเงินเดือนที่คาดหวังได้อย่างราบรื่น…

การต่อกรกับคำถามเรื่องเงินเดือนอาศัยไหวพริบอย่างมาก สิ่งสำคัญ คือ คุณต้องแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น ประนีประนอม เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ไม่เข้าใจผิดไปว่าตัวเลขที่เสนอไปนั้นไม่ใช่ตัวเลขสุดท้าย แต่เป็นไอเดียเพื่อเริ่มต้นบทสนทนา เช่น อาจจะพูดว่า “ถึงแม้ผมจะไม่ซีเรียสเรื่องเงินเดือนมาก แต่ผมก็อยากเข้าใจตำแหน่งงาน หน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจนกว่านี้ครับ จึงจะสามารถระบุตัวเลขที่เฉพาะเจาะจงได้มากกว่านี้ ช่วยอธิบายเนื้องานเพิ่มเติมได้ไหมครับ”

นอกจากนี้ การพลิกแพลงคำถามเพื่อสอบถามเกี่ยวกับงบประมาณของบริษัทถือเป็นการเอาตัวรอดที่ชาญฉลาด โดยคุณอาจให้คำตอบอย่าง “ดิฉันกำลังพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตงานทั้งหมดของตำแหน่งนี้อยู่ค่ะ ดังนั้น อาจจะยากสักหน่อยถ้าต้องแจ้งตัวเลขเงินเดือนที่คาดหวังไปเลย ยังไงรบกวนช่วยแชร์เรทเงินเดือนของตำแหน่งนี้ได้ไหมคะ” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างของคุณเรื่องเงินเดือน ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนเป็นการยิงคำถามไปที่นายจ้างให้ช่วยกรอบตัวเลขให้แคบลงนั่นเอง

กุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจ ว่า เงินเดือนของคุณควรอยู่ที่ใดคือการที่คุณศึกษาตลาดด้วยตัวเอง จะได้เข้าใจว่าเงินเดือนปัจจุบันหรือเงินเดือนล่าสุดของคุณนั้นหากเทียบกับตำแหน่งเดียวกันในตลาดเป็นตัวเลขที่เหมาะสม สูงกว่าท้องตลาดหรือค่าจ้างน้อยเกินไปกันแน่ โดยทั่วไปแล้ว การเปลี่ยนงานแต่ละครั้ง เงินเดือนควรจะเพิ่มขึ้นราว ๆ 15-20% จากแพ็คเกจปัจจุบัน ซึ่งควรสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมและระดับประสบการณ์ด้วย และก่อนที่จะแจ้งตัวเลข คุณสามารถหยิบยกทักษะและความสำเร็จของตัวเองเพื่อทำให้คำตอบดูมีน้ำหนักมากขึ้น ตัวอย่างเช่น “เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์เกือบ 10 ปี ในสายงานนี้ ประกอบกับผลงานของผมในการสร้างผลกำไรให้บริษัทเพิ่มขึ้นกว่า 26% ผมคิดว่าควรจะได้รับเงินเดือนระหว่าง 60,000 ถึง 80,000 บาทครับ” คำตอบนี้จะช่วยนำเสนอเงินเดือนที่คาดหวังของคุณพร้อมด้วยประสบการณ์และความสามารถที่เชื่อถือได้

จริงอยู่ที่ว่า เงินเดือนเป็นส่วนสำคัญที่สุด แต่อย่าเพิ่งมองข้ามสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ ที่บริษัทอาจมีให้ ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น ทำงานจากที่บ้าน โอกาสเติบโตในสายงาน ไปจนถึงวัฒนธรรมการทำงานแบบต่างชาติ ซึ่งมีคุณค่าและสำคัญไม่แพ้เรื่องเงิน นั่นหมายความว่าหากมันเป็นงานในฝันที่ตรงตามเงื่อนไขส่วนใหญ่ที่คุณตามหา บางที การที่เงินเดือนจะน้อยลงไปบ้างก็อาจเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ดังนั้น จงมองภาพรวมของแพ็คเกจที่ได้รับก่อน ไม่ใช่แค่เงินเดือนสูงแต่ต้องลำบากมากขึ้นอีกเท่าตัว

ตอบคำถามเงินเดือนที่คาดหวังอย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคุณรู้หลักการและเตรียมความพร้อมก่อนการสัมภาษณ์งาน โปรดจำไว้ว่า เป้าหมายของคุณ คือ การเปิดหัวข้อสนทนาเกี่ยวกับค่าตอบแทน ไม่ใช่เพื่อให้คำตอบแบบตายตัวจนทำให้ทั้งคุณและผู้สัมภาษณ์รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ ทางบริษัทวี ซัพพลาย ทาเล้นท์ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่กำลังมองหางานทุกท่าน

ที่มา : Harvard Business Review, The Balance Money

Facebook
Twitter
LinkedIn

Leave a Reply

เรซูเม่สมัยใหม่ต้องใส่ใจระบบติดตามผู้สมัคร ATS

เรซูเม่สมัยใหม่ต้องใส่ใจระบบติดตามผู้สมัคร ATS

เสียเวลาหลายชั่วโมงกับการเขียนเรซูเม่แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบกลับจากบริษัทที่สมัครไป? บางทีอาจเป็นเพราะเรซูเม่ไม่ได้เป็นมิตรกับระบบ ATS

Read More »
ลาออกยังไงให้จบแบบสวยๆ

ลาออกยังไงให้จบแบบสวยๆ

จะแจ้งลาออกตอนไหนดีนะ? เริ่มต้นจากตรงไหนก่อน หรือควรทำตัวอย่างไรในช่วงการเปลี่ยนถ่ายงานนี้ให้การออกจากงานนั้นจบลงไปด้วยดี

Read More »